ธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกของประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุด โดยมีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุด (ร้อยละ 23.35%) มีพนักงานของธนาคารมากกว่า 20,000 คน มีสาขาทั้งหมด 1,070 สาขา และเครื่องกดเงินอัตโนมัติ (ATM) 9,724 เครื่อง มีพื้นที่บริการครอบคลุมทั่วประเทศไทย นับได้ว่าเป็นธนาคารที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนคนไทยมากที่สุด เพราะเป็นเลิศในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นในด้านคุณภาพการดำเนินงาน คุณภาพด้านงานบริการ และคุณภาพด้านความปลอดภัย

จุดเริ่มต้นของธนาคารเริ่มขึ้นมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เชื่อว่าประเทศไทยนั้นควรจะมีระบบธนาคารเป็นของตัวเองเพื่อคอยค้ำจุนเศรษฐกิจภายในประเทศ มากกว่าที่จะไปพึ่งพาธนาคารต่างประเทศ จึงทำการทดลองเปิด “บุคคลัภย์” เพื่อดูแนวโน้มความเป็นไปได้ที่ขยายเป็นกิจการระดับประเทศ ด้วยความสำเร็จของโครงการบุคคลัภย์ ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ภายใต้ชื่อ “แบงก์สยาม กัมมาจล ทุนจำกัด” ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2450 นับแต่นั้นเป็นต้นมา ธนาคารไทยพาณิชย์ก็กลายเป็นต้นแบบของธนาคารไทยทุกแห่ง

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง หลายประเทศต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงและฟื้นฟู ไม่เว้นแต่ภายในประเทศของเราก็เช่นกัน รัฐบาลได้เปลี่ยนชื่อจากสยามประเทศให้เป็น “ประเทศไทย” ทำให้ชื่อของธนาคารเปลี่ยนตามคือ “ธนาคารไทยพาณิชย์” นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารครั้งใหญ่ โดยเอาคนไทยที่มีความรู้ในด้านการบริหารดี เข้ามาทำงานในตำแหน่งผู้บริหารแทนที่ชาวตะวันตก แม้ว่าจะมีความยากลำบากในการดำเนินงานบ้างในช่วงแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปธนาคารเริ่มมีประสบการณ์มากขึ้น จึงสามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม โดยเป็นตัวแทนด้านการเงินที่คอยสนับสนุนประชาชนให้มีเงินทุนในการประกอบธุรกิจ หรือการปล่อยกู้เงินเพื่อสร้างที่อยู่อาศัย

การเติบโตอย่างก้าวกระโดด

ในช่วงปี พ.ศ.2535 ถือเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการ และสถาบันการเงินทั้งหลายเติบโตไปพร้อมกันด้วย ในช่วงนี้เองที่ผลการดำเนินงานของธนาคารทำออกมาได้ดีเยี่ยม จนทำให้ได้รับรางวัลธนาคารแห่งปี เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ ธนาคารจึงได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่ SCB Park Plaza แม้ว่าในช่วงปี พ.ศ. 2540 จะเกิดภาวะฟองสบู่ขึ้น ทำให้สถาบันทางการเงินของไทยเริ่มขาดความน่าเชื่อถือในสายตานักลงทุน แต่ธนาคารไทยพาณิชย์ยังคงได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ประกอบการและประชาชน

อย่างไรก็ตามช่วงที่เกิดภาวะฟองสบู่ ทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศซบเซาเป็นอย่างมาก ผู้ประกอบการปิดร้านกันเป็นแถบๆ ไม่เว้นแต่สถาบันการเงินทั้งหลาย ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์เองก็ได้รับผิดกระทบอย่างหนักหน่วง มันจึงเรียกได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่เข้าขั้นวิกฤติ แต่ทางธนาคารยังคงพยายามที่จะหาวิธีในการอยู่รอด ด้วยการลดค่าใช้จ่าในทุกช่องทางที่เป็นไปได้ ซึ่งก็ได้รับกำลังใจจากพนักงานเป็นกำลังสำคัญ นอกจากนี้ยังใช้วิธีการขายหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นเดิม หรือให้กับผู้ลงทุนต่างประเทศ ถือเป็นการขายหุ้นครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา จนในที่สุดก็สามารถกลับมาตั้งหลักได้อีกครั้งหนึ่ง

หลังจากที่ผ่านมรสุมครั้งใหญ่มา ธนาคารยังคงยึดมั่นในภารกิจเดิมที่เคยตั้งเอาไว้ คือการเป็นธนาคารที่ดีที่สุดของประเทศ ซึ่งในระหว่างนี้ก็มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายใน เปลี่ยนกลยุทธ์ วิธีดำเนินงานต่างๆนาๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยยังคงใช้หลักในดำเนินธุรกิจ 3 อย่าง ได้แก่ มีความโปร่งใส เป้าหมายที่ชัดเจน และเข้าถึงได้ง่าย สโลแกนของธนาคารคือ “Bank of Choice for Our Customers, Shareholders, Employees and Community” หมายความว่า “เราจะเป็นธนาคารของทุกคน” ซึ่งธนาคารยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือเป็นสถาบันการเงินที่ดีเยี่ยมสุดของไทย